thumbnail
  • ปรับขนาด
    ตัวอักษร
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
 
ประวัติความเป็นมาของจังหวัด

เลือกภาษา : 

เมืองกาญจนบุรี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทุกยุคสมัย สามารถแบ่งออกเป็นยุคสมัยตามหลักฐานที่พบ ได้ดังนี้

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เริ่มตั้งแต่สมัยเริ่มกำเนิดมีมนุษย์ขึ้นในโลก จากสภาพภูมิศาสตร์ที่มีภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สิงสาราสัตว์มากมาย เหมาะที่จะเป็นที่ตั้งอาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมายได้แก่ เครื่อมือหินกะเทาะ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อยแควใหญ่ ตลอดไปจนลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

สมัยทวาราวดี
เมื่ออินเดียได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่พุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 พบหลักฐานศิลปะอินเดียสมัยคุปตะในสมัยทวาราวดี ตามลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่กลอง ที่บ้านวังปะโท่ บ้านท่าหวี บ้านวังตะเคียน และพงตึก โบราณวัตถุสถานที่พล เช่น ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผา และพบตะเกียงโรมันสำริดที่มีอายุราว พศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย

สมัยอิทธิพลขอม
จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป

สมัยอยุธยาเป็นราชธานี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรีปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ต้องกลายมาเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะตั้งอยู่ติดกับประเทศคู่สงครามคือพม่า กาญจนบุรีจึงเป็นเส้นทางเดินทัพและสมรภูมิ ด้วยเหตุว่ามีช่องทางเดินติดต่อกับพม่า คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ จึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในทางยุทธศาสตร์ ยังปรากฏชื่อสถานที่ในพงศาวดารหลายแห่งเช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ สามสบ ท่าดินแดง พุตะไคร้ เมืองด่านต่าง ๆ เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่ในช่องเขาริมลำน้ำแควใหญ่มีลำตะเพินอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านหลังติดเขาชนไก่ ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปประมาณ 14 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองกาญจนบุรีเก่ามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 170x355 เมตร มีป้อมมุมเมืองก่อด้วยดินและหินทับถมกัน ลักษณะของการตั้งเมืองเหมาะแก่ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นซอกเขาที่สกัดกั้นพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มุ่งจะไปตีเมืองสุพรรณบุรีและอยุธยาจำเป็นต้องตีเมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อน หากหลีกเลี่ยงไปอาจจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีกระหนาบหลัง ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง ป้องปราการ พระปรางค์ เจดีย์ และวัดร้างถึง 7 วัดด้วยกัน สมัยอยุธยานี้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีอยุธยาจนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และต้องย้ายราชธานีใหม่

สมัยธนบุรีเป็นราชธานี
กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่จากการกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยนี้เกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิอีกหลายครั้ง เช่น สงครามที่บางกุ้ง และที่บางแก้ว ซึ่งมีสมรภูมิรบกันที่บริเวณบ้านหนองขาว

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
เมื่อไทยย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพียง 3 ปี ก็เกิดสงครามใหญ่คือ สงคราม 9 ทัพ แต่ไทยสามารถยันกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ ณ สมรภูมิรบเหนือทุ่งลาดหญ้า ในปีต่อมาก็ต้องทำสงครามที่สามสบและท่าดินแดงอีก และไทยตีเมืองทวาย จากนั้นจะเป็นการรบกันเล็กน้อยและมีแต่เพียงข่าวศึก เพราะพม่าต้องไปรบกับอังกฤษ ในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้น และเลิกรบกับไทยตลอดไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยเหตุที่พม่าต้องนำทัพลงมาทางใต้เพื่อเข้าตี กรุงรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีทัพเรือล่องลงมาจากสังขละบุรี มาตามลำน้ำแควน้อยผ่านอำภอไทรโยคมายังปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้งสอง ด้วยเหตุนี้หลังจากสิ้นสงคราม 9 ทัพแล้ว จึงได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรี ที่ลาดหญ้า มาตั้งที่ตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเขาชนไก่ เพราะตั้งอยู่ในที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย พื้นแผ่นดินที่ตั้งเมืองก็สูงแลเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่กลางลำน้ำทีเดียว แต่เมืองกาญจนบุรีที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้เดิมปักเสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น" ในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จออกมาขัดตาทัพ กำแพงเมืองก็คงเป็นระเนียดไม้อยู่ ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นถาวร ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรวเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค ์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็ฯชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน การปกครองของเมืองกาญจนบุรี
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยเมืองด่าน 8 เมือง อยู่ในแควน้อย 6 เมือง แควใหญ่ 2 เมือง ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลย และกะเหรี่ยง เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวณด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุก และสิ่งอื่นๆ แก่รัฐบาลโดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง(รามัญ 7 เมือง) ประกอบด้วยเมืองในสุ่มแม่น้ำแควน้อย 6 เมือง และแควใหญ่ 1 เมือง คือ

1. เมืองสิงห์
2. เมื่องลุ่มสุ่ม
3. เมืองท่าตะกั่ว
4. เมืองไทรโยค
5. เมืองท่าขนุน
6. เมืองทอผาภูมิ
7. เมืองท่ากระดาน
เมืองต่างๆ เหล่านี้ผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้
1. เมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ปัจจุบันเป็นต้นสกุล สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ
2. เมืองลุ่มสุ่ม เป็น พระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา
3. เมืองท่าตะกั่ว เป็นพระชินติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล ท่าตะกั่ว ชินอักษร ชินหงสา
4. เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา
5. เมืองท่าขนุน เป็นพระปนัสติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล หลักคงคา
6. เมืองทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี เป็นต้นสกุลเสลานนท์ เสลาคุณ
7. เมืองท่ากระดาน เป็นพระผลกติฐบดี เป็นต้นสกุล พลบดี ตุลานนท์

ครั้นเมื่อมีการปกครองตามระเบียบสมัยใหม่ ร.ศ.114 เมืองด่านเหล่านี้ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน ตำบล กิ่งอำเภอ เป็นอำเภอบ้างตามความสำคัญของสถานที่ ดังนี้
1. เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าท้องผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมูาบ้านอยู้ในเขตกิ่งอำเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอำเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอำเภอทองผาภูมิ
2. เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออำเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอำเภอวังกะและกิ่งอำเภอสังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออำเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอำเภอสังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอำเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา
3. เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอวังกะ ใน พ.ศ.2492 ต่อมาได้โอนขึ้นกับ อำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทำการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ ตำบลวังโพธิ์ และได้ยกขึ้นเป็นอำเภอไทรโยค เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2506
4. เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค
5. เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลงเป็นหมู่บ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค
6. เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค ตามลำน้ำแควใหญ่ มีเมือง 2 เมือง คือ
1. เมืองท่ากระดาน ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์(ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีสวัสดิ์)
2. เมืองศรีสวัสดิ์ (ด่านแม่แฉลบ) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอไทรโยค (ปัจจุบันเป็นอำเภอศรีสวัสดิ์)
ในปี พ.ศ.2467 จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยอำเภอและกิ่งอำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ตั้งที่ทำการอยู่ตำบลปากแพรก ในกำแพงเมืองเก่า ประกอบด้วยกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ , กิ่งอำเภอไทรโยค , กิ่งอำเภอบ่อพลอยปัจจุบันทั้ง 3 กิ่งอำเภอได้ยกฐานะเป็นอำเภอ
อำเภอท่าม่วง ตั้งที่ว่าการที่ตำบลท่าม่วง เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลวังขนาย ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองเรียกว่า อำเภอวังขนาย ครั้น พ.ศ. 2489 จึงย้ายมาสร้างใหม่ที่ตำบลท่าม่วงจนถึงปัจจุบัน
อำเภอพนมทวน ตั้งที่ว่าการตำบลพนมทวน ก่อนเรียกว่าอำเภอบ้านทวน และก่อน ร.ศ. 120(พ.ศ.2445)เรียกว่าอำเภอเหนือ
อำเภอท่ามะกา ตั้งที่ว่าอยู่ที่ตำบลท่ามะกา ก่อนเรียกตำบลพระแท่นอยู่ในเขตตำบลพงตึก ขึ้นกับจังหวัดราชบุรี และได้โอนมาสังกัดจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.2480
อำเภอทองผาภูมิ ตั้งที่ว่าอยู่ที่ตำบลท่าขนุน มีกิ่งอำเภอสังขละบุรีอยู่ในสังกัด
Kanchanaburi is an archaic city that has existed through several eras, as follows.

Pre-historical Era
This era began with the existence of human beings. With mountainous geographic characteristics, with rivers, forests and natural fauna, this area has been suitable for the settlement of human beings since the pre-historical era. A great number of archaeological objects have been sound, such as stone tools, tools from Neolithic Age, tools from Metal Age, human skeletons, pottery, body accessories, and coloured painting on walls of caves and coffins in caves around cliffs, along Khwae Noi River and Khwae Yai River, and around Mae Klong River Basin.

Dvaravati Era
This era started when Indian merchants came into this Suvarnabhumi Region (the Golden Land) to do business and to disseminate Buddhism in 11th - 16th Buddhist Centuries. Evidences of Gupta Indian Art works from Dvaravati Era were found along Khwae Noi River and Khwae Yai River and at Wang Patho Village, Ban Tha Wi Village, Ban Wang Takhian Village and Phong Tuek Village, along Mae Klong River. Examples of antiquities and archaic places that have been discovered are ruins of pagodas and chanting halls, Buddha images, amulets, boundary stones, stone bells, body accessories, pottery and a Roman alloy lamp from around B.E. 600, which is considered as the oldest archaic object found in Thailand.

Era of Khmer Influences
The oldest document that mentions Kanchanaburi Province was the Phongsawadan Nuea (the Chronicle of the North), which mentioned, "Kanchanaburi is the city of Phaya Kong (King Kong), the father of Phaya Phan. It was a significant city of U Thong or Suvarnabhumi Region. It was believed to be established by Phaya Kong in A.D. 807." Later, the Khmer Kingdom expanded its influence by disseminating Mahayana Buddhism in Kanchanaburi, the evidences of which include Mueang Sing Pavilion, Mueang Khrut Pavilion and Khuean Klon Do Pavilion. Later, the Khmer influence reclined and finally dissolved.

Ayutthaya Era
In Ayutthaya Era, Kanchanaburi, which was a widely known city, became an important frontline city because it is adjacent to Burma (Myanmar) and has passes (Dan Pha Cheri Sam Ong (Three Pagoda Pass) and Bongty Pass) that led to battle fields. Thus, Kanchanaburi was a strategically essential city. There are many places, such as Phra Cheri Sam Ong Pass, Sam Sop, Tha Din Daeng, Phu Takhrai and other frontline towns, the names of which have been mentioned in chronicles.
The older Kanchanaburi City was located in a valley by Kwai Yai River with Lam Taphoen in the northern side and the rear side adjacent to Khao Chon Kai (Chon Kai Hill), which is 14 kilometers away from the current location, and is called by the locals as the 'Old Kanchanaburi City'. The layout of this old city is in the rectangular shape the size of which is 170 x 355 sq.m. At each corner of this old city, there is a fort built from clay and rocks piled up in layers. The characteristics of this old city is strategically advantageous because the hills and valleys could force enemies that came through Phra Cheri Sam Ong Pass to attack Suphan Buri and Ayutthaya to attack Kanchanaburi first. If enemies tried to avoid Kanchanaburi, it might encounter flank attacks from Kanchanaburi troops. Even nowadays, there are still ruins of city wall, forts, pagodas, stupas and 7 abandoned temples. Throughout Ayutthaya Era, Ayutthaya had had 24 wars with Burma and Kanchanaburi had been the battlefield in many always. Furthermore, Kanchanaburi is the passage for Burmese troop to go to attack Ayutthaya at the Ultimate Fall of Ayutthaya in A.D. 1767 until a new Capital had to be established.

Thonburi Era
After the Fall of Ayutthaya, Thonburi was founded as the new capital by King Thonburi. Throughout this era, there had been 10 wars between Thonburi and Burma; and Kanchanaburi had been the battlefield in many wars such as the war at Bang Kung, and the war at Bang Kaeo the battlefield in which was around Ban Nong Khao Village.

Ratanakosin Era
After the capital of Thailand had been moved from Thonburi to Bangkok for 3 years, there was a Great War or Song Khram Kao Thap (the 9 Troop-War), but Thailand could resist the Burmese troops and fought back until the Burmese troops fled at Lat Ya Battlefield.

In the year after, there were battled at Sam Sop and Tha Din Daeng, and the attack against Dawei. After that, there were petty fights and battle news because Burma turned to fight England and became colonized. Eventually, the war between Burma and Thailand ended for good in the early Ratanakosin Era.

During the 9 Troop-War, Burma used different strategy. Burma troops went southward in order to attack Ratanakosin and need send fleets southwards from Sangkhlaburi, along Khwae Noi River through Sai Yok District to Pak Phraek which is the meeting point of the two rivers. Hence, after the 9 Troop-War was over, the base of the troops was moved from Kanchanaburi City at Lat Ya to Pak Phraek which is the spot where two rivers run to each other and become Mae Klong River. King Rama V explained, "...as a matter of fact, the features of Pak Phraek were better than those of Khao Chon Kai because it was the meeting point of the two rivers and the terrain elevation was high enough for the troops to see the Khwae Noi River from afar; and the fort was situated at the center of the waterway. However, as for the new Kanchanaburi City, the land was just leveled and the wall was made from wood pillars."

In the reign of King Rama II, when His Royal Highness Krommamuen Jetsadabodin led the troop to hinder Burmese troops, the city wall was built from wood pillars. In A.D. 1831, His Majesty King Rama II ordered the permanent city wall and forts to be built. However, His Majesty the King's major purpose was to facilitate the trade with Ratchaburi City.

The aforementioned idea was reflected through one part of His Majesty's literal work entitled 'Sadet Praphat Sai Yok (Sai Yok Trip)', "...Pak Phraek Town is for trade but Khao Chon Kai (Khao Cbon Kai) is a big hill with two ravines which trouble customers who travel around. Thus, a new city is founded at Pak Phraek in order to facilitate the trade and travel with Ratchaburi City. This new city is 5 sen (400 meters) wide and 18 wa (72 meters) long, and has a fort at each of the four corners, with the central fort at the front of the city. In the southwestern side of the city, there iOS a big fort on a small elevated land. At the rear of the city, there is a small fort that is in line with the big fort..." According to a stone inscription, the newly built Kanchanaburi City was ruled by Phraya Ratchawarin, the Minister of Interior, promoted to Phraya Prasitthisongkhramramphakdisiphisetprathetnikhompriroomrachaisawan Phraya Kanchanaburi, who reported to His Majesty the King that Kanchanaburi was vulnerable to the colonization by English, Burmese or Mon Kingdom; thus, the outer wall of the city should be built. Nowadays, the city wall has been destroyed by the nature and authorities in order that the land could be used for another purpose. There are just some parts of the city wall and the city gate.

Administration of Kanchanaburi City
Early in Ratanakosin Era, Kanchanaburi consisted of 8 passage towns, six of which were in Khwae Noi area and the other two were in Khwae Yai area. These towns were founded for tactical purposes because they were like vassal states because they were governed by voluntary Mon clan, prisoner of war Mon people and Karen tribal people, in order to spread to rumors to Burma that Kanchanaburi had many layers of vassal states. In addition, the troops of these towns would have to do reconnaissance for intelligence related to enemies. Where there was no war, the rulers of these vassal towns had to present to Thai government some gifts such as gold and tin because they were subjected to no taxation back then.
The 7 Passage Towns (7 Mon Towns) were 6 towns in Khwae Noi River Basin Area and the other in Khwae Yai River Basin Area, as follows:
Mueang Sing, Mueang Lum Sum, Mueang Tha Takua, Mueang Sai Yok, Mueang Tha Khanun, Mueang Thing Pha Phum and Mueang Tha Kradan. The rulers of these towns had no official names. Thus, His Majesty King Rama V granted official names to them as follows:
1. The ruler of Mueang Sing was named Phrasaming Singburin, who was the forerunner of people whose current family names are Singkhiburin and Thamrongchot;
2. The ruler of Mueang Lum Sum was named Phraninphumibodi, who was the forerunner of people whose current family names are Ninbodi, Chamueang and Luangbanthao;
3. The ruler of Mueang Tha Takua was named Phrachinatithabodi, who was the forerunner of people whose current family names are Thatakua, Chin-Akron and Chinhongsa;
4. The ruler of Mueang Sai Yok was named Phranikhorathaphiyok, who was the forerunner of people whose current family name is Nikhoratha;
5. The ruler of Mueang Tha Khanun was named Phrapanasatithabodi, who was the forerunner of people whose current family name is Lakkhongkha;
6. The ruler of Mueang Thong Pha Phum was named Phrasalaephumibodi, who was the forerunner of people whose current family names are Selanon, Phonbodi and Selakhun; and
7. The ruler of Mueang Tha Kradan was named Phraphalakatithabodi, who was the forerunner of people whose current family names are Phalabodi and Tulanon.

In R.E. 114 (A.D. 1896), the administrative system was modernized, the aforementioned passage towns were changed to villages, sub-districts, branch districts or districts in accordance with the significance of each neighbourhood, as follows.
1. Mueang Thong Pha Phum (the old name is Thiong Pha Phum (with different intonation)) became a village in Sangkhlaburi Branch District (which later has become Sangkhlaburi District), and has currently become Thong Pha Phum District.
2. Mueang Tha Khanun (Sangkhlaburi) was changed to Sangkhlaburi Branch District under Wang Ka District which had been newly established northwards from Tha Khanun, with the District Office established by Sam Sop Stream. Later, Wang Ka District and Sangkhlaburi Branch District had switched their statuses many times until Sangkhlaburi Branch District under Wang Ka District became under Thong Pha Phum District and became Sangkhlaburi District eventually. As for Sangkhlaburi Branch District originally in Tha Khanun Sub-district, it has become Thong Pha Phum District since A.D. 1949.
3. Mueang Sai Yok became merged in Wang Ka Branch District. In A.D. 1949, it was transferred to be under Meuang District and the local administrative office of which had been moved many times until it is moved to Wang Pho Sub-district and Sai Yok has become Sai Yok District since 17th July A.D. 1963.
4. Mueang Tha Takua became a village in Tha Sai Sub-district, Sai Yok District.
5. Mueang Lum Sum became a village in Lum Sum Sub-district, Sai Yok District.
6. Mueang Sing became a village in Sing Sub-district, Sai Yok District.

Along Khwae Yai River, there are 2 towns as follows.
1. Mueang Tha Kradan became a village in Si Sawat Branch District (currently Si Sawat District).
2. Mueang Si Sawat (Mae Chalaep Pass) became a village in Si Sawat Branch District (currently Si Sawat District).
In A.D. 1924, Kanchanaburi Province had the following districts and branch districts
1. Mueang District, with district office in Pak Phraek Sub-district in the old city wall, consisting of Si Sawat Branch District, Sai Yok Branch District and Bo Phloy Branch Distruct, but currently, all the three branch districts have become districts;
2. Tha Muang District, with district office in Tha Muang Sub-district, but originally having been located in Wang Khanai Sub-district on the western bank of Mae Klong River, which has now become Wang Khanai District; but in A.D. 1946, the district office has been moved to Tha Muang Sub-district;
3. Phanom Thuan District, with district office in Phanom Thuan Sub-district, which was previously called Ban Thuan District and before R.E. 120 (or A.D. 1902) called Nuea District;
4. Tha Maka District, with district office in Tha Maka Sub-district, formerly called Phra Thaen Sub-district in Phong Tuek District in Ratchaburi Province but transferred to Kanchanaburi since A.D. 1937; and
5. Thong Pha Phum District, with district office in Tha Khanun Sub-district, having Sangkhlaburi Branch Office under the administration.
--- อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล---